6 ปัจจัย ที่มีผลต่อ การดูดซึมของ Co2 ในเบียร์

Co2 Absorbtion

เคยไหม ทำไมเวลาทำเบียร์ บางครั้งก็ซ่าเกินไป ทำให้กดดื่มยาก บางครั้งก็ไม่ซ่าเลย (flat) บทความนี้จะมาพูดถึงต้นเหตุของความซ่าไม่ซ่ากันค่ะ ความซ่าหรือไม่ซ่าในเครื่องดื่ม เป็นผลมาจาก การดูดซึมของ Co2 ในเบียร์ เรามาดูปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซึมขอ Co2 ในน้ำเบียร์กันดีกว่า 

จริง ๆ แล้ว อัตราที่ CO2 ถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อเบียร์นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง หลัก ๆ จะได้แก่ อุณหภูมิ ความดัน องค์ประกอบทางเคมีของเบียร์เองด้วย และปัจจัยเสริมอื่น ๆ อีกนิดหน่อย

อุณหภูมิ กับ การดูดซึมของ Co2 ในเบียร์

ความสามารถในการละลายของ CO2 ในเบียร์จะลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าเบียร์ที่อุ่นกว่าจะดูดซับ CO2 ได้ช้ากว่าเบียร์ที่เย็นกว่า และอีกนัยนึงหากตู้เย็นเราเย็นจัด และเสียบสาย Co2 คาไว้ เบียร์ของเราก็จะดูดซึม Co2 ได้ดีขึ้น ส่งผลให้เบียร์ Overcarbonate หรือ ซ่าเกินไปได้

ความดัน

ยิ่งความดันของ CO2 ที่ต้องอัดเข้าไปในถังเบียร์มากขึ้นเท่าไร  น้ำเบียร์ หรือเครื่องดื่มของเราก็จะยิ่งดูดซับ CO2 ได้เร็วขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อความดันถึงระดับหนึ่งแล้ว อัตราการดูดซึมจะเริ่มลดลงนะ

องค์ประกอบทางเคมีของเบียร์

องค์ประกอบทางเคมีของเบียร์ รวมถึงค่า pH และ ปริมาณน้ำตาล อาจส่งผลต่ออัตราการดูดซับ CO2 อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เบียร์ที่มีค่า pH สูงกว่าจะดูดซับ CO2 ได้ช้ากว่าเบียร์ที่มีค่า pH ต่ำกว่า

พื้นที่ผิว

ยิ่งพื้นที่ผิวของเบียร์มากเท่าใด CO2 ก็จะยิ่งถูกดูดซับเร็วขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การเขย่าหรือกลิ้งถังเบียร์จึงสามารถช่วยเร่งกระบวนการอัด หรือ ทำให้ซ่าเร็วขึ้นได้

อายุของเบียร์

เมื่อเบียร์ที่ถูกบ่มนานขึ้นมากขึ้น ก็จะยากขึ้นในการคาร์บอเนต เนื่องจาก CO2 ที่ละลายบางส่วนจะหลุดออกไปตามธรรมชาติเมื่อเวลาผ่านไป

สไตล์ของเบียร์

เบียร์ประเภทที่ต่างกัน ก็มีระดับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือระดับความซ่าที่แตกต่างกัน และบางสไตล์อาจดูดซับ CO2 ได้เร็วกว่าแบบอื่น ๆ

สรุปแล้ว จะเห็นได้ว่า อัตราการดูดซึม CO2 ในเบียร์หรือเครื่องดื่มนั้น เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน และได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลาย ๆอย่าง ผู้ผลิตหรือตัวคนทำเบียร์เองอย่าลืมดูปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบด้วย เพื่อให้ได้ระดับความซ่า หรือผลลัพธ์ที่ต้องการ

Happy Brewing!