สูตรเบียร์ Goggle Fogger สูตร Bavarian – style weissbier นี้ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จำนวนถึง 3 เหรียญในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เป็นการันตีเรื่องคุณภาพ และรสชาติ ซึ่งคุณ Matt Cole ซึ่งเป็น Brewmaster ของโรง Fat Head’s ที่รัฐ Ohio เรื่องราวของ Fat Head’s เริ่มต้นในปี 1992 Glenn และ Michelle Benigni เปิดร้านอาหารซึ่งมีคราฟเบียร์ขายในเมือง Pittsburg
ในปี 1992 Glenn และ Michelle Benigni ได้เปิดร้านอาหารที่เน้นเบียร์คราฟต์ใน Pittsburgh ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นแบรนด์ Fat Head’s ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก ร้านนี้ได้รับความนิยมจากการนำเสนอเบียร์คราฟต์ที่หลากหลายและเมนูอาหารที่อัดแน่น รวมถึงแซนด์วิชขนาดใหญ่และปีกไก่รมควันที่อร่อยมาก Brewmaster Matt Cole ได้ร่วมกับ Benignis ในการเปิด Flagship Brewpub ของ Fat Head’s ใน North Olmsted, Ohio ในปี 2009 ซึ่งพวกเขาผลิต IPA ที่ได้รับรางวัลช่วยยกระดับเบียร์คราฟต์ในเมือง Cleveland ขึ้นมาทันที
ในปี 2012 พวกเขาขยายตัวด้วยการสร้างโรงเบียร์เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต ซึ่งทำให้มีการจัดจำหน่ายเบียร์ไปได้กว้างขึ้น ตัวดัง ๆ ของโรงนี้ เช่น Bumble Berry Honey Blueberry Ale ที่ประสบความสำเร็จ และ Head Hunter IPA ที่เป็นตัวเด่น จนมถึงปี 2018 Fat Head’s ก็ได้สร้างโรงเบียร์ใหม่อีกโรงที่เมือง Canton มีมีห้องโถงเบียร์ขนาดใหญ่ที่จุคนได้มากถึง 250 คนเลยทีเดียว
จนถึงปี 2023 Fat Head’s ได้รับความสำเร็จอย่างมากในการแข่งขัน World Beer Cup และ Great American Beer Festival โดยได้รับเหรียญทองมากมายสำหรับเบียร์ของพวกเขา รวมถึง Head Hunter และ Alpenglow ปัจจุบัน Fat Head’s มีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิต IPA สไตล์อเมริกันร่วมสมัยที่ และยังโดดเด่นกับการผลิตเบียร์เยอรมันแบบ old-world-style อีกด้วย
มาดูสูตรกันเลย
สูตรเบียร์ Goggle Fogger
สูตรขนาด: 19 ลิตร
Brewhouse Efficiency: 72%
OG: 1.052
FG: 1.011
IBUs: 12
ABV: 5.4%
Grain Bill:
- 5.25 lb (2.4 kg) Wheat Malt
- 3.2 lb (1.5 kg) Pale Ale Malt หรือ two row อื่นๆ
- 11 oz (312g) Munich Malt
- 3 oz (85g) Acidulated Malt
Hops Schedule:
- 0.25 oz (7g) Stirling ต้ม 80 นาที (6 IBUs)
- 3 oz (85g) Stirling ต้ม 2 นาที (6 IBUs)
Yeast:
- Fermentis Safale W-68 , หรือ Munich Classic หรือ ยีสต์ Hefeweizen อื่นๆ
วิธีการทำ
1. บดมอลต์ และ Mash ที่อุณหภูมิสเตปต่าง ๆ ดังนี้
- 113F (45C) แล้วพักไว้ 10 นาที
- เพิ่มเป็น 122F (50C) พักไว้ 15 นาที
- เพิ่มเป็น 144F (62C) พักไว้ 35 นาที
- ค่อยๆเพิ่มเป็น 154F (68C) พักไว้ 5 นาที,
- สุดท้าย เพิ่มเป็น 170F (77C) แล้วจึง Mash Out
2. เริ่ม Sparge หรือเติมน้ำเพิ่มเติมจนได้เวิร์ทประมาณ 6 แกลลอน (23 ลิตร) หรือปรับเพิ่มเติมได้ แล้วแต่ค่าการระเหยของแต่ละอุปกรณ์ โดยให้ดูค่า OG ด้วย
3. สูตรนี้ต้มเวิร์ทเป็นเวลาทั้งหมด 90 นาที และ เริ่มใส่ฮอปส์ตามตารางที่กำหนด
4. หลังจากต้มเสร็จแล้ว จึงลดอุณหภูมิน้ำเวิร์ทลงให้เย็น 62F (17C) จากนั้นเติมออกซิเจน
5. เทยีสต์ และหลังจาก 1 วันให้ปรับอุณหภูมิหมักไปที่ 68F (20C) เป็นเวลา 10 วัน
6. เมื่อเบียร์เริ่มขจัด Diacetyl ไปแล้ว จึงเริ่มขั้นตอน Cold Crash ที่ 32F (0C) และ บ่มต่ออีก 2 อาทิตย์
7. จากนั้นแยกไปบรรจุ หรือ Carbonate ได้ – Carbonation อยู่ที่ 2.75 Vol of Co2
Brewer’s note:
Mash pH : ค่า pH อยู่ประมาณ 5.5
Yeast : สามารถ Blend หรือผสมยีสต์ได้ รวมถึง Underpitch (เพื่อเพิ่ม phenolic และ ester) ให้ cell count อยู่ที่ประมาณ 0.333 million cells/mL/P
การหมัก: ทางโรงจริงๆได้ทำการหมักแบบ Open Fermentation แต่ถ้าระบบ homebrew สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยเปิดฝาถังแบบหลวมๆ เพื่อไม่ให้มีแรงดันในภาชนะหมัก หรือสามารถใช้ถังที่ใหญ่กว่าขนาดที่หมักได้ 2 เท่า เพื่อให้ยีสต์ได้สามารถปล่อย Ester และ Phenols ได้แต็มที่
Happy Brewing!
Credit : Beer and Brewing Magazine