การต้มเบียร์ให้ดีและสม่ำเสมอ ในทุกๆครั้งไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันอยู่ที่ปัจจัยหลายอย่างที่เราต้องรู้ว่าอะไรมีผลต่อการต้มของเรา เช่น การ mashing และ อุณหภูมิ
ที่ในบทความนี้จะพูดถึงโดยภาพรวม Concept หลักๆของ All Grain อย่างน้อยเวลาต้มจะได้ไม่หนีกรอบนี้ไปมาก และรู้ว่าปัจจัยพวกนี้มีผลต่อเบียร์เรายังไงบ้าง
การต้มแบบ All Grain มันทำให้เราสามารถควบคุม Body และ mouth feel ของเนื้อเบียร์ได้ ตัวนี้แหละถึงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับการต้มเบียร์
การ Mashing จะมีวิธีและขั้นตอนการทำที่หลายวิธี แล้วแต่โจทย์ว่าต้องการให้เนื้อเบียร์เป็นอย่างไร วิธีบ้านๆที่จะพูดถึงคือ Single Infusion ค่ะ
Single Infusion
โดยปกติสัดส่วนของน้ำร้อนกับ Grain ที่บดแล้วจะอยู่ที่ Grain 1 ปอนด์ ต่อน้ำร้อน 950 ml หรือประมาณเกือบ 1 ลิตร หลังจากแช่ Grain กับน้ำร้อนประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เดรนน้ำ wort ออก แล้วก็ทำตามขั้นตอนปรกติที่เคยทำแบบ Extract ฟังดูก็ง่ายดีนะคะ
pH + Mash Temperature
เอนไซน์ ต่างชนิดกัน จะทำงาน หรือไม่ทำงานจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและค่า pH ช่วงที่ทำงาน โดยปกติที่ Grain ผสมกับ น้ำร้อนในอัตราส่วนทั่วๆไป จะได้ค่า pH ช่วง 5.1 – 5.5 ซึ่งเป็นค่าที่เอนไซน์จะทำงาน
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นการต้ม ค่า pH อาจจะยังไม่สลักสำคัญเท่ากับการควบคุม อุณหภูมิช่วง Mashing ค่ะ
Enzymes ตอน Mashing
เอนไซน์ที่จำเป็นที่เรารู้อยู่คือ ที่เปลี่ยนจากคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาล ที่เป็นอาหารให้ยีสต์มันกิน แต่จริงๆแล้วมีเอนไซน์อีกหลายๆตัวที่เกิดขึ้นช่วงที่เรา Mashing
เช่น บางตัวจะทำลายโปรตีนทำให้เนื้อเบียร์ขุ่น หรือแม้แต่บางตัวจะผลิตไนโตรเจนเพื่อช่วยให้ยีสต์แข็งแรงในช่วงที่ได้หมักอยู่ แต่ก็มีบางตัวที่เราควรจะหลีกเลี่ยงไปให้ไกล เช่นทำให้ Head retention ของเบียร์หายไป จึงเป็นเรื่องท้าทายของนักต้มอย่างเราๆที่จะหาเอนไซน์ที่ช่วยเนื้อเบียร์ของเรา และ รู้วิธีหลีกเลี่ยงตัวที่จะทำให้เกิดปัญหา
อย่างที่บอกว่า เอนไซน์ มีหลายตัว แต่ตัวที่สำคัญที่เราต้องรู้หลักๆ มีอยู่ 2 ตัวค่ะ (เพื่อเป็นความรู้ไว้ จะมีเชิงลึกในบทความเชิงลึกในโอกาสต่อไป)
1. Alpha Amylase ตัวนี้จะทำงานช่วง 154 – 167F น้ำตาลที่ได้ช่วงนี้จะทำให้ยีสต์กินน้ำตาลได้ยาก ไม่ค่อยย่อย ทำให้ได้เนื้อเบียร์ที่มี body มาก มีรสชาตหวาน มีค่า FG เยอะกว่าที่ควรจะเป็น
2. Beta Amylase ตัวนี้จะทำงานช่วง 130 – 150F ทำให้ได้น้ำตาลที่ High fermentable ยีสต์มันกินง่าย ด้วยความที่มันกินทุกอนู ทำให้ได้เบียร์ที่ Dried / mouth feel + body น้อย และ Alcohol ที่มากกว่าปกติ
สรุป การคุม อุณหภูมิ ที่บอกว่าเป็นหัวใจหลักของการ Mashing ต้องเป็นการ Mashing ที่นิ่งนะคะ Mash แล้ว อุณหภูมิ ไม่หายไปมาก
อุณหภูมิ ประมาณ 140 – 150F จะได้เบียร์ที่ Dried และ mouth feel + body น้อย
และที่ 155 – 158F ได้เบียร์ที่มีรสชาติที่ Full body
ส่วนใครอย่างได้เดินทางสายกลาง สำหรับเบียร์ส่วนใหญ่ทั่วๆไป จะใช้ที่ประมาณ 150-154F ซึ่งจะทำให้ได้ Body เบียร์แบบกลางๆ Medium Body ค่ะ
จริงๆถ้าอุณหภูมิที่ได้ หากจาก Target ไม่เกิน 5F ก็ยังโอเค ถือว่ารับได้อยู่นะค่ะ
ทีนี้จะเลือกอุณหภูมิไหน ก็ต้องแล้วแต่ประเภทของเบียร์ profile ของสรุปคือ Mashing อุณหภูมิที่ต่ำจะเหมาะกับเบียร์พวก Saison, Tripel แต่อุณหภูมิที่สูงก็จะเป็นพวก Scotch ale , Sweet Stouts , Pale Ale
Mashout and Lauter
หลังจากที่ Mash Grain ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้ว ขั้นตอนถัดไปก็ต้องหยุดให้เอนไซน์มันทำงานค่ะ จะทำยังไง ก็คือต้องเติมน้ำร้อนเพิ่มเข้าไปให้อุณหภูมิถึงประมาณ 170F
ถึงขั้นตอนนี้ เอนไซน์ทั้งหมดจะหยุดทำงาน แต่อย่าให้เกิน 170F นะคะ ไม่งั้นจะมีแขกชื่อ Tannin ออกมาเยี่ยมค่ะ
สุดท้ายLautering ก็คือการเดรนเอา wort ออกจาก Grain แล้วก็เอาขึ้นตั้งไปต้มแบบ Extract ปกติค่ะ
Happy Brewing
credit: How to brew by John Palmer