ABV มาจากคำว่า Alcohol By Volume คือ ปริมาณแอลกอฮอล์ (เอทานอล) มีอยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่าใร (แสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ปริมาตร) เช่น 5% ต่อ 330 มล.
ABW มาจากคำว่า Alcohol By Weight คือ ปริมาณแอลกอฮอล์ (เอทานอล) มีอยู่ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรูปของเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแอลกอฮอล์ต่อปริมาตรของเบียร์ เช่น 5% ต่อ 500 กรัม
Adjunct คือธัญพืชที่ไม่ผ่านทำ malting หรือส่วนผสมที่มีความสามารถในการหมักอื่นๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเบียร์ Adjuct ที่ใช้กันมากที่สุด ได้แก่ ข้าวและข้าวโพด
Aeration คือกระบวนการเพิ่มออกซิเจนลงไปในเวิร์ท (wort) ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการผลิตเบียร์ โดยที่ยีสต์จะต้องมีออกซิเจนเพียงพอเพื่อผลิตแอลกอฮอล์จากเวิร์ท (wort) และ ได้รสชาติออกมาสมบูรณ์
Airlock คือ อุปกรณ์ที่ใช้เป็นวาล์วทางเดียว ซึ่งช่วยลดแรงดันส่วนเกินที่เกิดขึ้นในกระบวนการหมัก และยังป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในถังหมักด้วย
Alcohol หรือ แอลกอลฮอล์ อีกชื่อหนึ่ง คือ “เอทานอล” มันเป็นผลลัพธ์สุดท้ายของยีสต์ที่กินน้ำตาลในน้ำเวิร์ท (wort) จากนั้นแปลงให้เป็น CO2 และแอลกอฮอล์
Ale คือประเภทของเบียร์ โดยเบียร์จะมีประเภทใหญ่ๆ อยู่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ Ale และ Lager โดยทั่วไปแล้ว Ale จะหมักด้วยยีสต์ที่หมักด้านบน (top fermented yeast) และมักจะหมักด้วยอุณหภูมิที่สูงกว่า Lager
Attenuation คือ สัดส่วนการลดทอนของน้ำตาล ที่สามารถเปลี่ยนไปเป็น แอลกอฮอล์และ CO2 ได้ ส่วนใหญ่ที่ใช้ หรือผ่านตากัน มักจะเกี่ยวข้องกับชนิดของยีสต์ หากยีสต์ที่ใช้ มีระดับการลดทอนน้ำตาลสูง หรือ high attenuation หมายความว่า ยีสต์ตัวนั้นมีความสามารถในการแปลงน้ำตาลไปเป็นแอลกอฮอล์ได้สูงนั่นเอง
BA ในแง่ Craft Beer จะสามารถแปลความหมายได้ 2 อย่าง
อย่างแรก: Beer Advocates (beer community ที่ให้คะแนนเรื่องเบียร์)
อย่างที่สอง: Barrel Aged (การเอจเบียร์ในถังบาร์เรล)
Blending คือ การผสมเบียร์ หรือ วัตถุดิบ 2 ตัวหรือมากกว่าเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างรสชาติใหม่ ตัวอย่างเช่น การใน blending ฮอปส์
Body ในความหมายของเบียร์ หมายถึง ความหนา หรือ เนื้อสัมผัสของเบียร์ เมื่อดื่มเบียร์ไป
Bottle Carbonation คือการหมักครั้งสุดท้าย ก่อนที่เบียร์จะถึงจุดที่จะสามารถดื่มได้ การหมักครั้งนี้ คือ การเติมน้ำตาล Dextrose ก่อนจะทำการบรรจุขวด
Break อาจจะเห็นคำนี้ได้บ่อยๆในช่วงการผลิต หมายถึง การแยกตัวของโปรตีน ในช่วงระหว่างขั้นตอนการต้ม (hot break) และ ช่วงการทำความเย็น (cold break)
Brew Kettle สำหรับชาว homebrewers มันคือหม้อที่ใช้ต้มเวิร์ท (wort) นั่นเอง
Carbonation คือ คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ต้องมีในเบียร์ นั่นก็คือการทำเบียร์ให้ซ่า เราสามารถทำ Carbonation ได้หลายวิธี โดยทั่วไปจะมี 2 วิธีคือ
1. ทำผ่านการเติมน้ำตาล Dextrose ก่อนการบรรจุขวด หรือ
2. ทำผ่านการอัดแก๊ส CO2
Carboy คือภาชนะแก้ว หรือพลาสติกขนาดใหญ่ (ปกติ 5 แกลลอน) ที่ใช้สำหรับหมักเบียร์
Conditioning คำนี้ที่เจอบ่อยๆ มีหลายแง่มุม แต่ถ้า Homebrew ตรงๆจะใช้อ้างอิงกระบวนการที่เกิด Carbonation ในเบียร์
Dextrose คือน้ำตาลที่ผลิตมาจากข้าวโพด ใช้สำหรับ Bottle Carbonation การใช้น้ำตาลประเภทนี้ จะทำให้ยีสต์ในขวดจะบริโภคง่ายกว่าน้ำตาลปรกติ ทำให้เบียร์มีรสชาติเป็นกลาง
Dimethyl Sulfide หรือ ไดเมทิลซัลไฟด์ หรือชื่อเล่น เรียกว่า DMS หากพบในเบียร์ในปริมาณความเข้มข้นสูง จะให้รสชาติที่ไม่พึงประสงค์ สังเกตุได้ง่ายคือ จะได้รสชาติของ ผักต้ม หรือผักที่ปรุงสุกมากๆในเบียร์
Dry Hopping คือ กระบวนการที่ฮอปส์ ถูกใส่เพิ่มเข้าไป ณ จุดใดจุดหนึ่ง ในกระบวนการผลิตเบียร์ หลังจากที่เวิร์ท (wort) เสร็จสิ้นการต้ม และคลายตัวเย็นแล้ว โดยทั่วไปแล้วจะทำกระบวนการนี้เพื่อให้เบียร์มีกลิ่นที่หอม มากกว่าจะใส่เพื่อความขม
Ethanol คือศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของเบียร์ ไม่มีสี
Extract Brewing คือกระบวนการผลิตเบียร์ โดยใช้ Malt Extract ในรูปแบบ น้ำเชื่อมเข้มข้น และ ผง (โดยทั่วไปเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นทำเบียร์)
Fermentation คือกระบวนการหมัก ที่ยีสต์บริโภคน้ำตาลในน้ำเวิร์ท และเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ แอลกอฮอล์และ CO2
FG มาจากคำว่า Final Gravity หรือ ค่า gravity หลังจากที่การหมักเบียร์เสร็จสมบูรณ์แล้ว
Gravity คือค่าแรงโน้มถ่วงซึ่งใช้ในการวัดความหนาแน่นของเวิร์ท (wort) เมื่อเทียบกับน้ำ การวัดสามารถทำได้โดยใช้ไฮโดรมิเตอร์ เพื่อค้นหาแรงโน้มถ่วงดั้งเดิม (Original Gravity: OG) ก่อนการหมัก และจากนั้นจึงหาแรงโน้มถ่วงสุดท้าย (Final Gravity: FG) ตัวเลข 2 ตัวนี้ จะใช้เพื่อกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเบียร์
Head ในความหมายของเบียร์คือ โฟมมีอยู่ที่ด้านบนเวลาเทเบียร์ลงแก้ว
IBU มาจากคำว่า International Bitterness Unit หรือคือหน่วยวัดความขมสากล
Imperial ใช้เพื่อแสดงถึงเบียร์ ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่าเบียร์ในแบบปรกติ ตัวอย่างเช่น Imperial IPA ก็จะแรงกว่า IPA แบบปรกติ
IPA มาจากคำว่า India Pale Ale แต่เดิมในศตวรรษที่ 19ได้ ผลิตขึ้นเพื่อให้มันรอดจากการเดินทางไกล ฮอปส์ที่ถูกใส่จำนวนมากกว่าปรกตินั้น ไม่ใช้แค่ให้เบียร์มีรสชาติที่ดี แต่เพราะว่า ฮอปส์ยังทำหน้าที่เป็นสารกันบูดในเบียร์ด้วย
Lambic หมายถึงการทำเบียร์ประเภท หรือรูปแบบหนึ่งที่เบียร์สัมผัสกับ wild yeast ในอากาศ แทนที่จะใช้ยีสต์ที่เกิดจากการคัดแยกปรกติที่เขี่ยและฆ่าเชื้อ โดยทั่วไปแล้วจะได้เบียร์ที่ dry หรือ เบียร์เปรี้ยว
Lauter คือ การแยกมอลต์ใช้แล้ว (spent grains) ออกจากเวิร์ท (wort) ในช่วงกระบวนการแมชชิ่ง (mashing)
Lovibond คือ ตัวที่ใช้วัดระดับความเข้มของมอล์ต
Lupulones คือ ยางรสชาติขมที่พบได้ในฮอปส์ (หรือเรียกอีกอย่างว่า Beta acids)
Malt หรือ มอลต์ เป็นผลที่ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ที่ผ่านการแปรรูปโดยการแช่ในน้ำเพื่อให้มีการงอก เมื่อเมล็ดข้าวบาร์เลย์เริ่มงอกมันจะถูกทำให้แห้งในโรงอบ เพื่อหยุดกระบวนการงอก
Mashing คือ กระบวนการผสมมอลต์ที่ได้รับการบดแล้วกับน้ำร้อน เพื่อแปลงแป้งที่อยู่ในมอลต์ให้กลายเป็นน้ำตาล ที่ยีสต์สามารถหมักได้ง่าย กระบวนการนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเพิ่มรสชาติ และเนื้อสัมผัสให้กับเบียร์ด้วย
Mouthfeel เป็นคำที่ใช้ในการชิมเบียร์ เพื่ออธิบายถึง ความหนา รสชาติ และความรู้สึกอื่นๆ ของเบียร์
OG มาจากคำว่า Original Gravity คือ ค่าแรงโน้มถ่วงดั้งเดิมก่อนการหมัก
Pitching คือการเติมยีสต์ลงไปในเวิร์ท (wort)
Primary Fermentation คือ ขั้นตอนแรกของการหมัก ซึ่งน้ำตาลส่วนใหญ่ในการหมักนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์
Priming คือ การเติมน้ำตาลลงในเบียร์ก่อนที่จะบรรจุขวด เพื่อให้มีการสร้าง CO2 ในช่วงการ Condition
Racking คือ การย้ายถ่ายเบียร์จากภาชนะหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เรียกเมื่อบรรจุขวด หรือ ย้ายเบียร์ลงถัง Keg
Secondary Fermentation คือ การหมักรอบที่ 2 โดยการย้ายเบียร์จากถังหมักแรก (ที่กระบวนการหมักเบื้องต้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว) ไปยังถังหมักที่ 2 กิจกรรมในการหมักครั้งที่ 2 นี้จะน้อยมาก สามารถเรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนการบ่มเบียร์ให้เข้าที่
Sediment คือ เศษของกระบวนการผลิตเบียร์ ที่ตกตะกอนอยู่ที่ก้นถังหมัก
Sparge เป็นศัพท์ที่พบบ่อยการการทำเบียร์แบบ all grain หมายถึง การใช้น้ำร้อน ค่อยๆใส่เพิ่ม ลงไปบนมอลต์ที่ได้ทำการสกัดน้ำตาลออกในรอบแรกแล้ว จุดประสงค์เพื่อสกัดน้ำตาลที่เหลือค้างติดอยู่ในมอลต์ให้ได้มากที่สุด
Wild Yeast หมายถึง ยีสต์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอากาศ หรือ ยีสต์สายพันธ์ที่มาโดยไม่ตั้งใจ ถึงแม้ว่าบางครั้งจะสามารถนำมาใช้ในการหมักเบียร์ได้ แต่ก็มีข้อระวังคือ wild yeast นั้นไม่สามารถคาดเดาได้ในเรื่องสายพันธ์ุ คุณภาพ และผลลัพธ์สุดท้ายของเบียร์
Wort หรือ เวิร์ท หมายถึง เบียร์ที่ไม่ผ่านการหมัก สถานะเวิร์ทจะใช้เรียกในช่วง สกัดน้ำตาล ช่วงต้ม และช่วงก่อนที่จะใส่ยีสต์ลงไป
Yeast คือ รากฐานของเบียร์ทั้งหมดในโลก ยีสต์เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลในเวิร์ท (wort) ให้เป็นแอลกอฮอล์ที่มีรสชาติดี ยีสต์มีหลายร้อยสายพันธุ์ที่แตกต่างกัน เหมือนๆกับสายพันธ์ของฮอปส์และมอลต์
Credit: Straighttothepint