กลิ่นหอมหลายๆกลิ่น ที่เราได้ใส่ฮอปส์แต่ละชนิดลงไป แล้วให้กลิ่นไม่เหมือนกัน เคยสงสัยกันรึเปล่า ว่าจริงๆแล้วในน้ำมันของฮอปส์ที่ให้กลิ่นออกมานั้น ค่าแต่ละตัวให้ กลิ่นในเบียร์ หรือบ่งชี้อะไรได้บ้าง ตัวที่เราจะพูดถึงในบทความนี้คือ ไมร์ซีน (Myrcene) ค่ะ
ไมร์ซีน (Myrcene) เป็นน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง และ เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่มากที่สุดใน น้ำมันฮอปส์ (Hop Oil) เช่นเดียวกับน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่นๆของฮอปส์ ซึ่งพัฒนาขึ้นในต่อม Lupulin ของ hop cone และจะมีการเพิ่มขึ้นตลอดช่วงการเจริญเติบโตของฮอปส์
ในขณะดอกฮอปส์เริ่มสุก ปริมาณของสารประกอบออกซิเจนในน้ำมันหอมระเหยจะปรากฏขึ้นก่อน และตามด้วยเบต้าแคริโอฟิลลีน (Beta Caryophyllene) และ ฮิวมิลีน (Humulene) และสุดท้ายก็คือไมร์ซีน (Myrcene) ตัวที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ค่ะ
เมื่อฮอปส์เริ่มสุก ปริมาณ ไมร์ซีน (Myrcene) ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะที่ปริมาณของเบต้าแคริโอฟิลลีน (Beta Caryophyllene) และ ฮิวมีน (Humulene) ไม่ได้เพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น เปอร์เซ็นต์ของไมร์ซีน (Myrcene) สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสุกงอมของ ฮอปส์ ได้ ในทางกลับกัน อัตราส่วนของฮิวมีนต่อแคริโอฟิลลีน จะทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ความหลากหลายค่ะ
ระดับไมร์ซีน(Myrcene) โดยทั่วไปแล้วจะมีน้ำมันทั้งหมด 50% หรือมากกว่านั้น ในช่วงของการเก็บเกี่ยว ในบางครั้งอาจมีน้ำมันมากถึง 70% เลยทีเดียว ซึ่งจะพบในสายพันธ์อเมริกันเช่น Cascade และ Centennial
ไมร์ซีน (Myrcene) จะมีกลิ่นหอมของสมุนไพรสีเขียวๆ สดๆที่เรียกกันว่า “ฮอปปี้ (Hoppy)” อย่างชัดเจน มันมีขีดจำกัด ของกลิ่นต่ำที่สุด (Lowest odor threshold) คือ 13 ppb ของไฮโดรคาร์บอนหลักในน้ำมันฮอปส์ ดังนั้น จึงมีกลิ่นหอมมากที่สุด ทำให้เบียร์ที่ผ่านการ Dry Hop จำนวนมากด้วยฮอปส์ หรือฮอปส์สายพันธ์อเมริกันจะมีกลิ่นไมร์ซีนที่เด่นชัดมาก แต่ถึงอย่างนั้นไมร์ซีน (Myrcene) ก็มีความผันผวนอย่างมากค่ะ ซึ่งหมายความว่าหากต้มจนเดือด และถูกความร้อนเป็นเวลานานๆ จะทำให้ ไมร์ซีน เกือบทั้งหมดหายไป และคงเหลือน้อยมากในเบียร์
สารตั้งต้นของ ไมร์ซีน (Myrcene) คือ สารเคมี geranyl pyrophosphate การออกซิเดชันของมันรวมถึงการจัดเรียงทางเคมีในช่วงการเจริญเติบโตของ ฮอปส์ สามารถนำไปสู่สารประกอบของดอกไม้ ฟรุ๊ตตี้ และซิตรัส ซึ่งรวมไปถึง linalool (ดอกไม้ – ส้ม), nerol (ส้ม, ดอกไม้สด – กุหลาบ), geraniol (ดอกไม้ – กุหลาบ, เจอเรเนียม), citral (ส้ม – มะนาว – ลูกอม) และ limonene (ส้ม – ส้ม – มะนาว)
ส่วน Linalool จะพูดถึงในบทความต่อไปนะคะ
Credit: Craft Beer & Brewing Magazine