สำหรับการเทียบค่า Hydrometer Temperature Correction รู้หรือไม่ ว่าอุณหภูมิมีผลต่อการอ่าน ค่า Gravity ของ ไฮโดรมิเตอร์ ที่เราใช้นะคะ การที่เราเอาเวิร์ทร้อน ๆ มา วัดค่า Gravity โดยหมุนไฮโดรมิเตอร์ลงไป จะทำให้ ไฮโดรมิเตอร์ จมลงไปมากกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้ ค่า Gravity ที่เราได้ และเอาไปใช้ต่อ ไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนได้
รูปจาก morebeer.com
โดยปรกติ ไฮโดรมิเตอร์ จะถูก “ปรับ” (Correction) เพื่อใช้ในอุณหภูมิที่กำหนดเท่านั้น ไฮโดรมิเตอร์ส่วนใหญ่ จะเทียบปรับค่าที่อุณหภูมิ 68°F หมายความว่า หากเราเอาน้ำกลั่น มาวัดกับไฮโดรมิเตอร์ ที่อุณหภูมิ 68°F ค่าที่อ่านได้เมื่อลอยน้ำ จะเท่ากับ 1.000
ซึ่งการ คำนวณ และ ปรับค่าของ ไฮโดรมิเตอร์ (Hydrometer Temperature Correction) สามารถใช้งานได้ ในเว็บไซต์นะคะ ดูได้จาก เมนูเครื่องมือคำนวณ > คำนวณการทดค่าของ Hydrometer และ อุณหภูมิ
วิธีการใช้
- ช่องที่ 1 (ค่า Gravity ที่อ่านได้) คือ กรอกค่าที่เราอ่านค่าได้จากการ วัดค่า Gravity จาก Hydrometer
- ช่องที่ 2 (Current Temperature) คือ กรอกค่าอุณหภูมิ (°F) ของตัวอย่างน้ำที่เราได้ทำการวัด
- ช่องที่ 3 (Calibration Temperature) คือ กรอกค่าที่ ใช้เทียบค่าอุณหภูมิ โดยทั่วไปแล้ว ไฮโดรมิเตอร์รุ่นเก่าจะได้รับการปรับเทียบที่ 59°F ในขณะที่ไฮโดรมิเตอร์รุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะปรับเทียบที่ 68°F หากไม่แน่ใจว่าเครื่องวัดไฮโดรมิเตอร์ที่ใช้อยู่ต้องปรับเทียบที่อุณหภูมิใด ให้ลองค้นหาข้อมูลนี้ได้จากเอกสารของไฮโดรมิเตอร์ที่แนบมา/บรรจุภัณฑ์ หรือ สอบถามผู้ขาย
- ช่องที่ 4 (ผลการคำนวณ) คือ ค่า Gravity ที่ทำการเทียบค่าอุณหภูมิเรียบร้อยแล้ว ซึ่งสามารถเอาค่าดังกล่าวไปใช้คำนวณ อื่นๆได้ เช่น หาก wort ของเราอ่านค่าได้ 1.054 ที่อุณหภูมิ 100°F แต่ ค่าที่เรา “ปรับ” และเอาไปใช้จริงคือ 1.059
Happy Brewing!
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพ : Homebrewanswer, byo magazine, learntomoonshine.com