บทความนี้จะพูดถึง การ Carbonate เบียร์ หรือง่ายๆ คือ การทำให้เบียร์ซ่านั้นเอง
การ Carbonate เบียร์ มีความสำคัญกับเบียร์ค่อนข้างมาก เนื่องจากช่วยเพิ่มเรื่องการรับรสของเนื้อเบียร์ รวมไปถึงการรับรสของ Hop และ Malt รวมถึงกลิ่นที่เข้าไปในจมูกด้วย และอีกอย่างคือมีผลต่อรูปลักษณ์ และ Head Retention ของ เบียร์
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับระดับการ Carbonation ของ เบียร์ กันก่อนนะคะ
เบียร์ แต่ละประเภทนั้น จริงๆแล้วไม่ได้มีระดับการ Carbonation ที่เท่ากันเสมอไป ยกตัวอย่าง แบบน้อยไปมากเลย เช่น English Ale บางตัว ตัวนี้เค้าจะเสิรฟ แบบมีการ Carbonation น้อยมากๆจน เกือบรู้สึกว่าไม่ได้มีการ Carbonation และอีกตัวอย่าง German Weizen ที่มีการ Carbonation ที่เยอะกว่าเบียร์ประเภทอื่น จนในการรินใส่แก้ว บางครั่งอาจจะต้องทิ้งช่วงให้ฟองเซทตัวก่อนแล้วค่อยรินเเบียร์เพิ่มไปอีกที ดังนั้นลองดูวิธีข้างล่างที่จะช่วยคำนวนการ carbonation ได้เลยค่ะ
คำนวณระดับการ Carbonation
การคำนวนทำได้ง่ายๆค่ะ มี Application ฟรี ที่ใช้คำนวณอยู่หลายตัวค่ะ การกรอกข้อมูลจะคล้ายๆกันเลย แต่จะยกตัวอย่างตัวที่ใช้บ่อยๆ หนึ่งในนี้ก็คือ Application Android ที่ชื่อว่า Homebrew Calculator ค่ะ
1. เปิด Application มา กดปุ่ม Carbonation
2. กดเลือกประเภทเบียร์ที่ทำตรง Suggested Carbonation Levels
3. มีประเภทเบียรขึ้นมาให้เลือก สมมุติว่าเลือก American Wheat ก็จะมีระดับการ Carbonation ของเบียร์ประเภทนี้อยู่ที่ 2.3 – 2.6
4. กรอกข้อมูลของเบียร์ลงในช่อง
ช่องแรก: Desired Vol. of CO2: กรอกค่าระหว่าง 2.3 – 2.6
ช่องที่สอง: Volume of Beer: กรอกปริมาณน้ำเบียร์ที่เหลือจากการ Ferment (ไม่นับรวมเศษ ยีสต์ หรือ Hop หรือ อื่นๆที่อยู่ก้นถัง)
ช่องที่สาม: อุณหภูมิเบียร์ที่จะทำการBottling สำหรับการ Carbonate แบบ Bottling อุณหภูมิจะสำคัญต่อสัดส่วนที่ Dextrose ใช้ในการ Carbonate
และสุดท้ายกดปุ่ม Calculate
5. เลือกวิธีการ Carbonation
จะเห็นได้ว่าทำไม่ยากเลย ยังไงลองปรับให้เข้ากับเบียร์ดูนะคะ
Happy Brewing!!