Trouble Shooting ตอนที่ 3 – ตะกอนในเบียร์ เยอะเกินไป ป้องกันได้ยังไงได้บ้าง

ก่อนอื่นเลย ตะกอนในเบียร์ ที่อยู่ก้นขวด ไม่ได้เป็นอันตราย จริงๆ แล้วมันเต็มไปด้วยวิตามิน B และสารอาหารหลายอย่างในจำนวนเล็กน้อยนี้ ถึงแม้ว่ามันไม่ได้อันตรายอะไร แต่ถ้ามีตะกอนมากๆ เราอาจจะรู้สึกขัดหูขัดตาไปบ้าง เรามีวิธีจัดการให้ตะกอนที่อยู่ในขวดให้น้อยลงได้ ตามวิธีต่างๆ ด้านล่างค่ะ

1. ใช้ Secondary Fermenter

หลังจาก 1-2 สัปดาห์ผ่านไปในถังหมักแรกหรือ primary fermenter ตะกอนทั้งหมดควรจะตกลงไปที่ก้นถังเรียบร้อยแล้ว หากมีการถ่ายโอนเบียร์ไปยัง ถังเบียร์ที่สอง หรือ secondary fermenter ทำใหทิ้ง ตะกอนในเบียร์ ที่เราไม่ต้องการไว้เป็นจำนวนมาก 

2. ใช้ Siphon หรือ ใช้ตัวดูดการลักน้ำ

หากต้องการหลีกเลี่ยงตะกอน โดยทำการย้ายถังหมักเบียร์แรกไปยังถังหมักที่สอง โดยการเทลงจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกขวด นี่อาจเป็นเรื่องโหดร้ายที่สุดในการเบียร์ทำเลยก็ได้ ไม่รวมไปถึงการ Oxidation การเทเบียร์จะทำให้ตะกอนที่ด้านล่างของถังหมัก ลงไปขุ่นในถังบรรจุขวด หรือ ถังหมักที่สองมากขึ้นแน่นอน จึงควรอย่างยิ่งในการใช้ Siphon

3. Cold Crashing 

มีอีกวิธีที่จะช่วยให้เบียร์ใสขึ้น ไม่ทิ้ง ตะกอนในเบียร์ นั้นก็คือการ cold-crashing โดยการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะบังคับให้ยีสต์ที่ลอยอยู่ และตะกอนอื่นๆ ตกตะกอนลงไปที่ก้นถัง โดยวิธีการนี้สามารถทำได้เมื่อเบียร์ได้หมักจบเรียบร้อยแล้ว และต้องการย้ายเบียร์ไปเพื่อบรรจุขวด ก็สามารถทำขั้นตอนนี้ก่อนการย้ายบรรจุขวดได้

4. ย้ายลง Keg

หากว่ามีการย้ายเบียร์ไปถังหมักที่สอง รวมถึงใช้ Siphon หรืออุปกรณ์กาลักน้ำอย่างถูกต้องแล้ว หรือ Cold Crashing แล้ว ปริมาณของตะกอนที่เหลืออยู่จะค่อนข้างน้อยลงแล้ว แต่ถ้าเป้าหมายของเราคือการทำเบียร์ที่ใสและไม่มีตะกอนเลย ก็คงจะต้องกรองเบียร์และลงทุนในการทำระบบ kegging ให้ถูกต้อง  โดยการเอาเบียร์ลง Keg และทำการ Force Carbonation แล้วถ้าหากอยากแบ่งลงขวด ก็ควรใช้ Beer Gun ควบคู่กับการบรรจุขวดด้วย

หวังว่าบทความนี้จะ ช่วยเรื่องไขข้อสงสัยเรื่อง ตะกอนในเบียร์ ได้บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

Happy Brewing!