มีคนถามเข้ามาเยอะเรื่องวิธีทำ Brew with Extract และควรจะเริ่มยังไงดี จึงขอแนะนำสำหรับมือใหม่ที่อยากจะทดลอง ให้เริ่มด้วยการทำเบียร์แบบ Malt Extract
บทความนี้จะเริ่มด้วย สูตร Malt Extract kits ขนาด 5 แกลลอน หรือ ประมาณ 20 ลิตร บทความนี้ อ้างอิงจาก Homebrew Association ที่เรานำมาแปลพร้อมรูปประกอบ และคำอธิบายเพิ่มเติมนิดหน่อยค่ะ
ก่อนอื่น เช็คอุปกรณ์ต่างๆ ให้ครบ แล้วเริ่มทำ Brew with Extract ได้เลยค่ะ
วิธีการทำ Brew with Extract มีดังนี้ค่ะ
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกอย่างที่จะสัมผัสกับเนื้อเบียร์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ Sanitizer อุปกรณ์จำพวกช้อนคน ถ้วยตวง เทอร์โมมิเตอร์ ฯลฯ
- ต้มน้ำ โดยใช้น้ำดื่มสะอาด ต้มจนอุณหภูมิถึง 160F หรือ 71C
- ช่วงที่ต้มน้ำให้เดือด เอา Specialty Grain ใส่ถุงและ มัดให้แน่น แต่ถ้าในสูตรไม่มี ให้ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลยค่ะ
- พออุณหภูมิถึงช่วง 150 – 170F (65 – 76C) ก็จุ่มถุง ลงไปประมาณ 30 นาที ยกขึ้น ยกลงบ้างเป็นบางครั้ง คล้ายๆกับการชงชา
5. พอครบประมาณ 30 นาที ก็เอาออกถุงออก ให้มันค่อยๆหยดจนหมดแต่ไม่ต้องไปบีบ หรือบิดถุงเพื่อเค้นเอาน้ำออกมานะคะ เพราะแทนนินจะออกมาเยอะ ทำให้เสียรสชาติได้ คล้ายๆกับการต้มถุงชา ceylon ไว้นานเกินไป
6. ปิดเตา และยกหม้อออกมา ใส่ Malt Extract คนจนละลายให้ทั่ว ค่อยๆทยอยใส่ เพราะมันเหนียวมาก อย่าให้ Malt Extract ติดก้นหม้อ เพราะจะไหม้ได้
7. พอ Malt Extract ละลาย คนจนทั่วกันแล้ว ยกขึ้นเตาเพื่อต้มต่อ และเตรียมใส่ Hop ต่อไป
8. การใส่ Hop ควรใส่ตามสูตรที่ได้มา ว่าต้องต้มกี่นาที หรือใครคล่องแล้วก็สามารถปรับได้ภายหลัง ตอนต้มให้ระวังตอนเดือดนะคะ เพราะจะมีฟองและล้นออกมาจากหม้อค่ะ การใส่ Hop ควรเริ่มนับเวลาตั้งแต่ของเหลวเริ่มเดือด
9. เสร็จแล้วก็ยกหม้อออกจากเตา ทำให้อุณภูมิ wort(ของเหลวที่เพิ่มต้มไป) เย็นลงให้เร็วที่สุด จนถึง 70F (21C) เพื่อให้เหมาะกับการเติมยีสต์ วิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายหน่อย คือการแช่ในน้ำแข็ง แต่ใช้เวลาหน่อยนะค่ะ หรือ อีกวิธี คือ ใช้ไส้หมูขดท่อทองแดงต่อกับก็อกน้ำ เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อน แต่ถ้าจะใช้ไส้หมู ก็ควรใส่ลงไปต้มในหม้อด้วย ตั้งแต่ 5 นาทีสุดท้าย ก่อนการยกหม้อออกจากเตา เพื่อฆ่าเชื้อโรค (ไส้หมูทองแดงหาซื้อได้ตามร้านแอร์ค่ะ และใช้สายยางกับก็อกต่อเองได้ อุปกรณ์ ก็อกและ ที่สายยางหาได้ทั้งหมดที่ ไทวัสดุ)
10. เมื่ออุณหภูมิ ลดลงแล้ว ก็ย้าย wort(ของเหลวที่เพิ่มต้มไป) ไปสู่ถังหมัก
11. ใช้แก้วที่ฆ่าเชื้อแล้ว ตัก wort(ของเหลวที่เพิ่มต้มไป) ขึ้นมาใส่หลอดวัด และใช้ Hydrometer เพื่อวัดค่า Original Gravity และจดบันทึกด้วยนะคะ ว่าเป็นไปตามสูตรที่ควรจะเป็นรึเปล่า สำหรับ Extract ไม่น่ามีปัญหาอะไรค่ะ จะอธิบายเรื่อง OG ในตอนหลังนะคะ
12. เมื่อทำการวัดค่า OG เสร็จแล้ว ช่วงที่รอ wort เย็นลง อย่าลืมทำการ Rehydrate ยีสต์นะคะ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็เทยีสต์ลงไป
13. จากนั้นปิดฝา และ อุดด้วย Airlock น้ำที่ใส่ใน Airlock ควรเป็นน้ำที่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ จำพวก Starsan หรือใช้ Vodka ก็ได้ เผื่อยีสต์มันทะลักล้นในช่วงแรกของการหมัก จะได้ไม่มีน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนหลุดเข้าถังไป
14. เมื่อปิดถังหมักแน่นแล้ว ถึงช่วงที่ต้องเขย่า เขย่าแรงๆประมาณ 2 นาที เพื่อเติมออกซิเจนลงไป ไม่ต้องกลัวยีสต์เจ็บค่ะ เพราะจะทำให้ยีสต์โตและแข็งแรง หากออกซิเจนไม่เพียงพอ จะทำให้ยีสต์ทำงานได้ไม่เต็มที่ค่ะ
15. ถึงช่วงเก็บตัวและนะคะ ควรเก็บในที่ๆ อุณหภูมิคงที่ เหมาะสมสำหรับการหมักในแต่ละสูตร ไม่ควรโดนแสง และไม่ควรเคลื่อนย้ายหรือขยับถังบ่อยๆ เพราะจะเกิดการ splash ภายในถัง ส่วนใหญ่ที่บ้านเราใช้กัน ก็มีวิธีการเก็บหลายวิธีเลยค่ะ ดัดแปลงกันไป เช่น ถังโฟมบ้าง ถังน้ำแข็งบ้าง แต่ถ้าให้แนะนำ ถ้าจะทำให้ชีวิตสบายจริงๆ ก็ต้องมีที่ควบคุมอุณหภูมิกับตู้เย็นค่ะ
16. หลังจากผ่านไปประมาณ 1-2 อาทิตย์ ต้องวัดด้วย Hydrometer อีกครั้ง เมื่อถึงวันบรรจุขวด ให้ทำการต้มน้ำร้อน และใส่ dextrose ตามสัดส่วนที่สูตรให้มา หรือคำนวณได้จากที่นี่
17. พอต้มได้ที่แล้ว ทิ้งให้เย็นซักแป๊ป แล้วเทใส่ bottling bucket หรือถังบรรจุขวด อย่าลืมฆ่าเชื้อถังก่อนและอุปกรณ์ต่างๆก่อนนะคะ
18. ใช้ Auto Siphon ในการถ่ายเบียร์ จากถังหมัก มายังถังบรรจุขวด ให้ปลายสายอยู่ก้นถังเพื่อให้น้ำตาลผสมทั่วกัน ระวังอย่าให้กระเด็นนะคะ ขั้นตอนนี้ไม่ต้องการออกซิเจนค่ะ ต้องระมัดระวังหน่อย
19. ต่อสายเข้ากับก๊อกที่ถังบรรจุ ส่วนอีกข้างต่อกับ Bottle filler เพื่อบรรจุขวดได้เลยค่ะ
20. บรรจุขวด โดยกด bottle filler ลงก้นขวด
21. ใช้ที่ปิดขวด ปิดฝา (เอาฝาไปฆ่าเชื้อด้วยนะคะ) และ นำไปแช่ในอุณภูมิประมาณ 70F หรือ 21C ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ตามที่สูตรแนะนำ เพื่อรสชาติที่ดีขึ้นควร age ไว้มากกว่า 1 เดือน
สุดท้าย นำไปแช่เย็นและพร้อมดื่มค่ะ
Happy Brewing!
Credit: American Hombrewers Association