โปรแกรม สร้างสูตรเบียร์ ตอนที่ 2 เราจะมาพูดเรื่องการ สร้างชุดอุปกรณ์ กันค่ะ (ตอนต่อจากบทความเรื่อง โปรแกรม สร้างสูตรเบียร์ Part 1 – โปรแกรม BeerSmith)
หลังจากได้ทำการติดตั้ง โปรแกรม BeerSmith เรียบร้อยแล้ว อันดับแรกเราต้องทำการ สร้างชุดอุปกรณ์ ก่อนค่ะ
เหตุผลที่ต้องทำการ สร้างชุดอุปกรณ์ คือ
1. อุปกรณ์ของแต่ละคน ไม่ได้เหมือนกันหมด ทั้งขนาดและวัสดุอาจจะดัดแปลงกันไปตามที่หากันได้
2. ปริมาณที่ต้องการต้มหรือหมัก บางคนอยากทำน้อย หรือ ทำมาก หรืออุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวยที่ต้องทำปริมาณเยอะ ไม่จำเป็นต้อง 20 ลิตรเสมอไปค่ะ
3. ในทุกๆครั้งที่เราทำการ สร้างสูตรเบียร์ โปรแกรม จะนำเอาชุดอุปกรณ์ที่เราสร้างขึ้นมา มาเป็นค่าตั้งต้นในการคำนวน เพื่อที่สะดวกในการต้มค่ะ เช่นการคำนวนปริมาณน้ำในแต่ละขั้นตอน
ขั้นตอนของการ สร้างชุดอุปกรณ์ ใน BeerSmith
1. เปิดโปรแกรม BeerSmith ไปที่คำสั่ง Insert > Equipment Wizard
2. จะมีหน้าต่าง Pop Up แสดงว่า My Equipment ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ค่ะ
3. ทำการกรอกข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับ อุปกรณ์ Homebrew ที่เรามี ซึ่ง โปรแกรม BeerSmith จะคำนวนให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ที่เรามีค่ะ คำอธิบายจะเรียงลำดับเป็นข้อๆ ดูประกอบกับรูปภาพด้านบน นะคะ
การกรอกจะทำกลับหลังกับขั้นตอนการทำเบียร์ เริ่มจากขั้นตอนที่ 1 Bottling and Batch Volume อันนี้จะเป็นการบรรจุขวดย้อนไปถึงการ Mashing ค่ะ
ขั้นตอนที่ 1: Bottling and Batch Volumes
3.1 Name: ตั้งชื่ออุปกรณ์ตามใจชอบ เอาให้เราจำได้ว่าชื่อนี้มีรายละเอียดอย่างไร เผื่อกรณีเรียกใช้ชุดอุปกรณ์ในภายหลังจะได้จำได้ค่ะ จะตั้งชื่อตัวเอง หรือ หมา แมวอะไรก็ได้ค่ะ
3.2 Batch Volume: หมายถึงปริมาณที่ใส่ในถัง Ferment ตัวอย่างคือต้องการทำ 5 แกลลอนค่ะ
3.3 Fermenter loss: ถามเรื่องในช่วงที่หมักและบรรจุขวด คิดว่าจะมีการสุญเสีย ในขั้นตอนไปปริมาณเท่าไหร่ อันนี้ก็เกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่นพวกปฎิกิริยาที่เกิดขึ้นช่วงหมัก ที่ก้นถังจะมีเศษยีสต์ หรือ ฮ๊อปที่ไม่ได้กรอกออกมาในขั้นตอนแรกๆ, การทำ Primary ย้ายไปถัง Secondary , Secondary ย้ายลงขวดหรือ Keg , การ dry hop ที่ดอก Hop อมน้ำไป หรือแม้แต่การดึง Sample ออกมาวัดค่าต่างๆ ก็ล้วนแต่ทำให้เกิดการ Loss ซึ่งปริมาณ ก็ประมาณการคร่าวๆไว้นะคะ ก็ตีไปกลมๆว่า10%ค่ะ เพราะ Max สุดๆก็ไม่น่าเกิน15% ของปริมาตรทั้งหมดค่ะ
3.4 Bottling Volume: อันนี้ไม่ต้องทำอะไรนะคะ ระบบคำนวนให้โดยเอา ข้อ3.2 ลบ 3.3 เหลือเป็นปริมาณที่คาดว่าจะบรรจุลงขวด หรือ Keg ข้อนี้โปรแกรมจะเอาไว้คำนวนการ Carbonantionค่ะ
3.5 Top Up Water: อันนี้สำหรับผู้ที่ทำแบบใช้ Malt Extract ค่ะ ซึ่งหลังจากต้มแล้วเค้าจะเติมน้ำเปล่าเพิ่มทีหลัง แต่ถ้าเป็น all grain ก็ข้ามไปได้ไม่ต้องใส่อะไรในช่องค่ะ
3.6 Loss to trub and chiller: ถามเรื่องการย้าย wort จากหม้อต้ม ผ่าน wort chiller หรือการ cool down ต่างๆ ไปยังถัง Fermenter ว่าน่าจะมีการสูญเสียเท่าไหร่ ก็จะเป็นพวกเศษฮ๊อป เศษพวกที่เราใส่ไปในช่วงต้มค่ะ อันนี้ก็เหมือนเดิมค่ะ ตีกลมๆไว้ที่ 10-15% สำหรับปริมาตรที่เสียไปในข้อ 3.3 และข้อ 3.6 นี้หากได้ทำการทำดูแล้ว สามารถกลับมาเปลี่ยนแปลงได้ทีหลังตามที่สูญเสียจริงค่ะ
3.7 ทีนี้ก็จะมาถึงข้อ 3.7 ที่คำนวนว่าปริมาตร wort หลังเราทำการต้มเราเสร็จว่าเราควรมีอยู่เท่าไหร่ ที่จะทำให้ Final Product ในถัง Ferment เราอยู่ที่ 5 แกลลอนค่ะ
3.8 ต่อไปกดปุ่ม Next ค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 เรื่อง Boils Volumes and Details
4. ขั้นตอนนี้ก็จะเป็นข้อมูลให้กรอกช่วงที่เราต้ม Wort อยู่บนเตาค่ะ ข้อมูลก็จะเริ่มกรอกถอยหลังเหมือนเดิมค่ะ
4.1 Boil time คือระยะเวลที่เราติมWort อยู่บนเตาค่ะ โดยปรกติก็ 60 -90 นาทีค่ะ เริ่มแรกก็ให้กรอก 60นาทีก่อนได้ค่ะ
4.2 Boil off ก็คือปริมาตรน้ำที่หาย หรือระเหยไปช่วงที่เราต้ม 60 นาที แน่นอนว่ามีหายไปอยู่แล้วค่ะ ส่วนปริมาณก็ เช่นเดิมค่ะ ประมาณ 10%
4.3 โปรแกรม BeerSmith ก็จะคำนวนให้ค่ะว่าปริมาณ wort ก่อนขึ้นต้ม ควรมีปริมาณเท่าไหร่ ก็เอาข้อ 4.1 ลบข้อ 4.2 ข้อนี้จะได้ดูคร่าวๆค่ะว่าหม้อต้ม wort ที่เราจะต้มนั้นมีเพียงพอหรือมั๊ย
4.4 Hop Utilization ก็คงไว้เหมือนเดิมที่100%ค่ะ เพราะปริมาณที่เราต้มน้อยกว่า 20 แกลลอน
4.5 ต่อไปกดปุ่ม Next ค่ะ
ขั้นตอนที่ 3 การ Mash
5. เป็นการกรอกข้อมูลช่วงที่ทำการ Mash สำหรับการทำแบบ All Grain ค่ะ ขั้นตอนก็กรอกถอยหลังเหมือนเดิม สำหรับใครที่ต้มแบบ Malt Extract ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้และกดปุ่ม OK ด้านล่างไปได้เลยค่ะ
5.1 Brewhouse Efficiency ค่านี้คือค่าประสิทธิภาพของการทำทั้งระบบเลยค่ะ การต้ม การ Mash การ Ferment สำหรับระบบแบบ Home brew ก็ใส่ค่ากลางๆไปที่72% ตามที่เซทมาได้เลยค่ะ เราไม่ใช่ micro brew เต็มระบบไม่ต้องไปใส่ 100% นะคะ
5.2 Mash Tun Volume คือปริมาตรของถัง Mashค่ะ ว่ามีปริมาตรใหญ่แค่ไหน
5.3 Mash Tun Weight คือน้ำหนักของถัง Mashค่ะ ว่าอัตราการสูญเสียของอุนหภูมิมีแค่ไหน ทางโปรแกรมจะคำนวนเรื่องการเตรียมอุนหถูมิน้ำร้อนค่ะ ก็ลองยกถังMash กะประมาณดูนะคะ
5.4 Mash Tun Specific Heat อันนี้เป็นประเภทของถัง Mash ว่าเราใช้วัสดุแบบไหนอยู่ ถ้าเป็นถังสแตนเลส ก็กรอกเลข 0.12 ถังพลาสติก กรอกเลข 0.3 และถังอลูมิเนียมกรอกเลข 0.21 ค่ะ
5.5 Lauter Tun Dead Space คือบริเวณที่ใต้ False Bottom หรือ บริเวณใต้ Bazooka ที่ไม่สามารถเอา Wort ออกจากถัง Mash ได้ค่ะจะอยู่ตรงส่วนก้นของถัง Mash ยังไงก็ลองเอาถัง Mash ใส่น้ำดูนะคะ ว่าDead Space มีประมาณเท่าไหร่
5.6 ช่องนี้มีไว้เพื่อหากเรามี Dead Space ที่ชัดเจนก็ติ๊กที่ปุ่มนี้ค่ะ ซึ่งโปรแกรมจะคำนวนน้ำและ Grain เพื่อชดเชย wort จาก Dead Space ที่หายไปค่ะ ถ้า Dead Space ไม่เยอะมากก็ไม่ต้องติ๊กก็ได้ค่ะ
5.7 สุดท้ายก็กดปุ่ม OK
6. เมื่อสร้างชุดอุปกรณ์เสร็จแล้ว ชุดเครื่องมือก็จะอยู่ในแถบด้านซ้ายมือที่หัวข้อ Profile > Equipment
7. ในกรณีที่เรามีชุดอุปกรณ์หลายชุด และอยากจะเปลี่ยน Default ชุดอุปกรณ์ หรือแม้แต่หน่วย unit การใช้งานจากแกลลอนเป็นลิตร หรือหน่วยวัดอื่นๆ ก็ให้เลือกกดที่ปุ่ม Preference ดังภาพข้อ 6
7.1 Double Click ที่ ชุดอุปกรณ์ เพื่อเปลี่ยนค่าอื่นๆภายหลังเพิ่มเติม
7.2 คลิ๊กเพื่อเปลี่ยนค่า Default ชุดอุปกรณ์ และกด OK
7.3 Unit เพื่อเปลี่ยนหน่วยต่างๆ ตามที่ถนัด
ทีนี้ก็จะจบเรื่องการสร้างชุดอุปกรณ์แล้วค่ะ สำหรับตอนต่อไป จะอธิบายเรื่องการ สร้างสูตรเบียร์ นะคะ
HAPPY BREWING!
Note: สามารถหา Download โปรแกรม BeerSmith กันได้ ในอินเตอร์เน็ทเลยค่ะ