หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่เชื่อว่า ทุกคนก่อนที่จะเข้ามาต้มเบียร์จะต้องตั้งคำถามนี้แน่นอน คำถามอาจจะดูง่ายๆ แต่คำตอบ สามารถตอบได้หลากหลายมาก มาดูกันเลย
อุปกรณ์ที่ทำเบียร์ สามารถดัดแปลงได้ง่าย ๆ จากของในครัว และซื้อเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ไปจนถึง ระบบแบบจริงจัง ไปจนถึงงบประมาณหลักแสนได้เลยทีเดียว
อุปกรณ์หลัก ๆ ที่ต้องใช้ในการทำเบียร์ มี 4 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้
อุปกรณ์สำหรับ Mashing (หรือ อุปกรณ์ที่ใช้ในคงอุณหภูมิของมอล์ต เพื่อเปลี่ยนจากแป้งกลายเป็นน้ำตาล) / ต้ม / ทำให้ wort เย็นลง
- หากเริ่มจากการลงทุนไม่มาก จำนวนลิตรน้อยหน่อย สามารถใช้ถุงผ้าขาวบาง และ ใช้หม้อในครัวทรงสูง เพื่อสกัดน้ำตาลออกมา ก็สามารถทำได้ (ขั้นตอนนี้เรียกว่า Brew in a Bag สามารถดูเพิ่มเติมได้จากลิงค์เลยค่ะ)
- ใช้ถัง Cooler เพื่อรักษาอุณหภูมิให้คงที่ และมีตะแกรงสำหรับกากมอล์ต และน้ำ wort ออกจากกัน วิธีนี้ ปริมาณจะได้จำนวนลิตรเยอะขึ้นกว่าวิธีแรก
- หม้อต้มไฟฟ้า วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายและสบายที่สุด สามารถได้จำนวนลิตรเยอะ และมีชุด Chiller สามารถทำให้น้ำ Wort เย็นลงได้เลย หม้อต้มไฟฟ้าจะมีหลายราคา หลายยี่ห้อ สามารถเลือกตามงบประมาณที่มีได้เลย
อุปกรณ์สำหรับ หมัก จะมี 2 ส่วน
- ส่วนแรก คือ ตัวตู้แช่ และ ตัวควบคุมอุณหภูมิ เนื่องจากการหมักเบียร์แต่ละตัว ยีสต์ที่ใช้จะมีอุณหภูมิแตกต่างกัน ซึ่งยีสต์ที่ต้องใช้ส่วนใหญ่ จะต้องหมักในอุณหภูมิที่เย็นกว่าอุณหภูมิห้องปรกติ วิธีที่นิยมใช้ทั่วไปคือ ใช้ตู้เย็นหรือตู้แช่ และตัวควบคุมอุณหภูมิควบคู่กัน วิธีนี้เราสามารถปรับอุณหภูมิขึ้นลงได้ และสามารถ Cold Crash ได้ เพื่อให้ตะกอนตกลงมาได้ด้วย
- หรือ หากไม่อยากลงทุนตู้แช่ แต่อยากหมักอุณหภูมิเย็น บางคนก็จะใช้ถังโฟม และใช้น้ำแข็งในการหล่อเย็น เพื่อคงอุณหภูมิไว้ ข้อเสียของข้อนี้คือ ต้องคอยเติมน้ำแข็งและ อุณหภูมิจะเหวี่ยงได้
- ส่วนหากตัดเรื่องตู้แช่ และการคุมอุณหภูมิออกไปเลย แนะนำให้เลือกใช้ยีสต์ที่สามารถหมักอุณหภูมิห้องได้ ซึ่งมีไม่กี่ตัวนัก แต่ข้อควรระวังคือ ควรหมักในที่ๆไม่โดนแสง อุณหภูมิไม่เหวี่ยงมากนัก ยิ่งเป็นที่เย็นที่สุดของบ้านได้ยิ่งดี
- ส่วนที่สอง คือ ถังหมัก ถังหมักจะมีหลายประเภท หลักๆดังนี้
- ถังหมักขาว แบบพลาสติก Food Grade หรือ หมักในโหลแก้ว แบบเสียบแอร์ล็อค
- ถังหมักพลาสติกทนแรงดัน เช่น Fermzilla จะมีอุปกรณ์เสริมเพิ่มเก็บแรงดัน และดึงน้ำเบียร์ออกจากถัง
- ถังหมัก แสตนเลส จะคงทนแข็งแรง เก็บแรงดันได้ เหมาะกับอยู่กับที่ เนื่องจากเคลื่อนย้ายยากซักหน่อย
อุปกรณ์สำหรับบรรจุ
- แบบบรรจุลงขวด
- สามารถบรรจุลงขวดแก้วแบบทึบแสง หรือ ขวดพลาสติกที่สามารถทนแรงดันแบบทึบแสงก็ได้
- Bottle Filler และสายยางสำหรับบรรจุ
- แบบบรรจุลงกระป๋อง
- กระป๋องและฝาปิด
- เครื่องบรรจุ และ เครื่องปิดกระป๋อง
- แบบอัดลง Keg หรือ ระบบจ่ายเบียร์สด
- ถัง Co2 , Keg , สายเบียร์ , Fitting ข้อต่อ และหัวเสียบต่างๆ
- Tap หัวจ่ายเบียร์สด และระบบความเย็นๆ
อุปกรณ์สำหรับวัดค่า ทำความสะอาด และ ปรับแต่งค่าต่างๆ
- อุปกรณ์วัดค่าต่างๆ
- Hydrometer และ กระบอกวัดค่า หรือ Refractometer
- Thermometer
- pH Meter
- อุปกรณ์ชั่ง วัด ตวง
- อุปกรณ์ฆ่าเชื้อและทำความสะอาด
- Star San หรือ Stella San สำหรับฆ่าเชื้ออุปกรณ์
- PBW สำหรับทำความสะอาดอุปรณ์มีคราบต่างๆ
- อื่นๆ
- ที่ทำความร้อน ต้มน้ำเช่นเตาแก๊ส หรือเตาไฟฟ้า
อุปกรณ์ด้านบนจะเป็นอุปรณ์คร่าว ๆ ที่จำเป็นต้องมี ตามแต่งบประมาณ และเทคนิคดัดแปลงของแต่ละคนค่ะ
Happy Brewing 🙂