วิธีทำเบียร์แบบ Brew in a Bag (BIAB) เป็นเทคนิคที่ได้คิดขึ้นมา สำหรับการทำเบียร์ Homebrew แบบ all grain โดยเป็นวิธีที่เป็นการเริ่มต้นที่ไม่แพงสำหรับนักต้มที่เปลี่ยนวิธีการต้มเป็น all grain หรือมือใหม่หัดต้ม ซึ่งใช้เวลา และอุปกรณ์การเตรียมตัวที่ไม่มาก สามารถหาดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ทาง Youtube นะคะ โดยการ Search “Brew in a bag” หรือ “BIAB” ก็ได้ค่ะ แนะนำให้ดูค่ะ > https://youtu.be/IneNZ4l6das
อุปกรณ์ สำหรับ Brew in a Bag
สำหรับการทำต้องมีหม้อ โดยขนาดใหญ่พอที่จะใส่ grain และเผื่อที่ไว้สำหรับน้ำด้วย ใครไม่มีหม้อใหญ่อาจทำเป็น Batch เล็กๆก่อน ประมาณ 3 แกลลอน ซึ่งตัวหม้อนี้มาทดแทนอุปกรณ์ Mash tun ค่ะ
และอุปกรณอีกอย่างนึงคือถุงผ้า โดยขนาดควรจะใหญ่กว่าหรือพอดีกับหม้อ ถุงผ้าควรเป็นลักษณะตาข่ายเล็กๆ และเย็บลักษณะคล้ายๆ ปลอกหมอนค่ะ
วิธีการทำ Brew in a Bag
ท่านที่ได้ดู VDO การทำทาง Youtube แล้วก็พอจะนึกภาพออกแล้วนะคะ ว่าไม่ได้ทำยากจนเกินไป
โดยปรกติวิธีนี้ส่วนใหญ่จะทำแบบขั้นตอนเดียว Single Step Infusion
วิธีนี้เราต้องต้มน้ำร้อนไว้ก่อน ซึ่งเป็นการกำหนดอุณหภูมิน้ำไว้ล่วงหน้า เมื่อได้อุณหภูมิที่ต้องการ ก็ใส่ถุงผ้าลงไปในหม้อ หนีบถุงกับขอบหม้อให้เรียบร้อย แล้วถึงเท grain ลงไป
เมื่อปรับจนได้น้ำตามอุณหภูมิตามที่ต้องการแล้วก็ปิดฝาหม้อ และพยายามรักษาอุณหภูมิ ดังกล่าวไว้ให้คงที่ประมาณ 30 – 60 นาที เพื่อเปลี่ยนโมเลกุลน้ำตาลให้ง่ายต่อยีสต์ในการกิน อุณหภูมิน้อยไปก็เปิดไฟอ่อนๆเพื่อ เพิ่มอุณหภูมิขึ้น ร้อนไปก็เติมน้ำค่ะ หรือซึ่งสามารถหาผ้าหนาๆเพื่อมาคลุมหม้อเพื่อเป็นฉนวนไม่ให้อุณหภูมิในหม้อหายไปค่ะ จุดมุ่งหมายคือให้อุณหภูมิคงที่
เมื่อการ Mash เสร็จสิ้นก็สามารถเลือกที่จะเพิ่มอุณหภูมิขึ้นเพื่อทำการ Mash out ต่อก็ได้ ซึ่งถ้าต้องการเพิ่มอุณหภูมิ ขณะที่ถุง grain ยังอยู่ในหม้อนั้น ก็ควรระวังในส่วนก้นหม้อด้วยค่ะ ค่อยๆเพิ่ม และสุดท้ายคือยกถุง grain ออกจากหม้อ และให้น้ำ wort ไหลออกให้หมด
ข้อดีและข้อเสียของการทำ Brew In A Bag
ข้อดีของการทำ Brew In A Bag ได้แก่
- อุปกรณ์เตรียมง่ายและไม่แพง ถ้ามีหม้อต้มใหญ่ๆอยู่แล้ว ที่ต้องมีเพิ่มคือถุงผ้าใหญ่ๆหน่อย ซึ่งสามารถซื้อผ้ามาเย็บเอง หรือจ้างเย็บก็ได้
- เริ่มทำง่าย เป็นวิธีที่ผู้สามารถเริ่มทำ All Grain สามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ขั้นตอนไม่ซับซ้อน ทำความสะอาดน้อยชิ้น และใช้พื้นที่ในการทำน้อย
ข้อเสียของการทำ Brew In A Bag ได้แก่
- ปริมาณในการต้ม เนื่องจาก Grain ทั้งหมดต้องยกจากถุงผ้า ฉะนั้นถุงผ้านั้นต้องสามารถยกขึ้นและรับน้ำหนักทั้ง grain ได้ ฉะนั้นก็ดูตะเข็บดีๆค่ะ อีกอย่างคือทำ batch ใหญ่มาก หนักและร้อน ทำให้ยกยากค่ะ
- ประสิทธิภาพ ปริมาณในการสกัดน้ำตาลออกมาจาก grain จะน้อยกว่าการใช้ถัง Mash tunปรกติ แก้โดยอาจเพิ่มปริมาณ grainที่มากกว่าสูตรปรกติ หรือลดปริมาณน้ำลง เพื่อให้ได้ Gravity ตามที่ต้องการ
- คุณภาพน้ำตาล ในที่นี้หมายถึงการควบคุมอุณภูมิให้ได้คงที่ สม่ำเสมอ ความร้อนต้องกระจายตัวไปใน Grain ทั้งหมด บางจุดที่ร้อนเกินไปจะทำให้สกัด beta-amalyse ออกมาได้น้อย นั้นหมายถึงได้น้ำตาลที่ยีสต์สามารถกินได้น้อย ส่งผลให้เบียร์ออกมามีรสชาติหวาน แอลกอฮอล์จะน้อย ถึงแม้ว่าจะมีค่า Gravity ที่ถึงแล้วก็ตาม ซึ่งเท่าที่เจอมา ข้อนี้เป็นปัญหาที่ Brewer ส่วนใหญ่จะประสบในการทำช่วงแรกๆค่ะ แต่ก็มี brewer หลายๆคนที่ใช้วิธีนี้ในการ Mash ก็สามารถสกัดน้ำตาลและทำเบียร์ออกมาได้รสชาติดีค่ะ แต่ไม่ว่าวิธีไหนก็ต้องอาศัยประสบการณ์ การฝึกฝนให้ชำนาญค่ะ
Happy Brewing!!